เรียนรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจเครน และการทดสอบน้ำหนักเครน

เครน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปั้นจั่น เป็นเครื่องจักรกลที่มีไว้สำหรับยกสิ่งของหนัก โดยยกขึ้นลงตามแนวดิ่ง หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะแขวนลอยตามแนวราบ ในปัจจุบันเครนมีด้วยกัน 2 แบบได้แก่ เครนเคลื่อนที่ได้และเครนเคลื่อนที่ไม่ได้ แต่หลายท่านก็มักจะสงสัยว่าทำไมต้องตรวจเครน การตรวจเครนมีความสำคัญอย่างไรและการทดสอบน้ำหนักเครนต้องทำอย่างไรบ้าง ทางเราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเพื่อหาคำตอบไว้แล้ว

คุณมักจะได้ยินชื่อเรียก ปจ. 1 ปจ. 2 ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือชนิดของเครนนั่นเอง (ปจ. ย่อมาจากปั้นจั่น)  อย่างที่เราบอกไปแล้วว่าเครนแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ เครนชนิดเคลื่อนที่ได้และเครนชนิดอยู่กับที่ โดยปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ คือ ปจ.1 ส่วนปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้ คือ  ปจ. 2

  • ปจ.1 ปั้นจั่นหรือเครนชนิดอยู่กับที่ หมายถึง เครนที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมและต้นเครื่องกำลังในตัว เช่น เครนติดตั้งผนัง เครนขาสูง เครนขาสูงแบบข้างเดียว เครนราง เครนหอสูงหรือปั้นจั่นหอสูง เป็นต้น
  • ปจ.2 ปั้นจั่นหรือเครนชนิดเคลื่อนที่ หมายถึง เครนที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมและต้นเครื่องกำลังในตัว ซึ่งมีการติดตั้งอยู่บนยานพาหนะที่สามารถขับเคลื่อนได้ เช่น รถเครนตีนตะขาบ รถเครนล้อยาง รถเครน 4 ล้อ รถเครนติดรถบรรทุกหรือรถเฮี๊ยบ เป็นต้น

ทำไมต้องมีการตรวจเครน ก็เพื่อให้เครนหรือปั้นจั่นอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย การตรวจเครนเป็นไปตามกฎหมายที่ได้กำหนดให้ตรวจสอบพร้อมกับทำการทดสอบพิกัดการยกโดยวิศวกรเครื่องกลมืออาชีพ สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเครนหรือปั้นจั่น อ้างอิงตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักรปั้นจั่น และหม้อน้ำ ปี พ.ศ. 2564

น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบเครน โดยวิศวกรจะทำการทดสอบการรับน้ำหนักของเครนหรือปั้นจั่นตามอายุการใช้งาน กรณีที่เป็นปั้นจั่นใช้งานแล้วให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.5 เท่าของน้ำหนักใช้งานจริง โดยไม่เกินพิกัดการยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด แต่ถ้าเป็นปั้นจั่นใหม่ที่ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.25 เท่า ซึ่งถ้าหากเป็นปั้นจั่นใหม่ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตันให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตันจากพิกัดการยกอย่างปลอดภัย

อย่างไรก็ตามหากเป็นเครนหรือปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดการยกปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตได้กำหนด หน้าที่การกำหนดพิกัดยกปลอดภัยจะเป็นของวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ การตรวจเครนและการทดสอบการรับน้ำหนักถือได้ว่ามีความสำคัญมากๆ นอกจากจะเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายแล้วยังเป็นการตรวจสอบเพื่อการบำรุงรักษา หากพบสิ่งผิดปกติต้องรีบซ่อมแซม ทำให้สามารถใช้งานเครนได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *